วันอาทิตย์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

วรนารีเฉลิม ถิ่นที่ลูกพิกุลไปได้ดี

โรงเรียน.....วรนารีเฉลิม ถิ่นที่ลูกพิกุลไปได้ดี




                                                          
                                                            ผู้ที่เราเรียกแม่กันทุกคน
                                    เป็นผู้ประทานนามโรงเรียน


                                                                      
                                               ภาพที่ นักเรียน วรนารีเฉลิม ร่วมแปรภาพ
                                                    ให้ทุกคนได้รู้ว่าเราภูมิใจที่เป็นลูกแม่


                   
 ประวัติโรงเรียนที่เราภาคภูมิใจ


        ประวัติโรงเรียนหญิงในจังหวัดสงขลา เริ่มตั้งแต่พระยาสุขุมนัยวินิจ สมุหเทศาภิบาล (เจ้าพระยายมราช ปั้น สุขม) ได้นำครูเทียบมาเป็นครูใน พ.ศ. 2449 นัยว่าพระยาสุขุมฯ รวบรวมเงินบริจาคพ่อค้า ข้าราชการ ให้เป็นเงินเดือน แต่ได้รับอุปการะอยู่ราว 6 เดือน พระยาสุขุมฯ ย้ายกลับไปกรุงเทพฯ ครูเทียบต้องไปเช่าห้องแถว ถนนนครใน ทำการสอน (สอนคนเดียว) และเก็บค่าเล่าเรียน (ราวเดือนละ 2 สลึง)

          เมื่อพระยาวิ ฑูรดรุณกร (วารี ชิตวารี) มาเป็นกรรมการมณฑล เมื่อ พ.ศ.2458 จึงได้ครูนิล รุจิธรรม มาเป็นครู (ได้เงินเดือนหลวง) สอนที่บ้านพระยาอรรถกวีสันทร อัยการจังหวัด เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2459ในวันเปิดเรียนมีนักเรียนชาย 20 คน
       
          ในปี พ.ศ. 2464 พระยา สุริยวงศ์ประวัติ พระยาวิทูรดรุณกร ได้จัดการสร้างอาคารเรียนในที่ดินวัดแจ้ง เป็นอาคารไม้ชั้นเดียว นับเป็นอาคารเรียนหลังแรกของวรนารีเฉลิม ประวัติแน่ชัดของโรงเรียนจึงเกิดขึ้นที่นี่ ในปีนั้นสมเด็จพระน้องยาเธอเจ้าฟ้ายุคลฑิฆัมพร กรมขุนลพบุรีราเมศวร์ ทรงดำรงตำแหน่งอุปราชมณฑลปักษ์ใต้ ได้กราบบังคมทูลเชิญเสด็จ สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระมาตุจฉาเจ้า ซึ่งเสด็จประพาสสงขลา ได้ทรงเปิดโรงเรียนและพระราชทานนามโรงเรียนว่า "วรนารีเฉลิม" พร้อมพระราชทานตรา "กรอบพักต์" เป็นตราประจำโรงเรียนและทรงปลูกต้นพิกุลเป็นที่ระลึก

          ต่อมาในเดือนมิถุนายน พ.ศ.2482 พล เรือตรีหลวงสินธุสงครามชัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการไ ด้มาตรวจราชการจังหวัดสงขลา ได้เห็นความเจริญก้าวหน้า มีนักเรียนตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ทั้ง ยังมีแผนกฝึกหัดครูประกาศนียบัตรและครูมูล สถานที่เดิมคับแคบไป ควรหาสถานที่ก่อสร้างโรงเรียนขึ้นใหม่ ทางจังหวัดมีพระยารามราชภักดี เป็นข้าหลวงประจำจังหวัดและขุนศิลปกรรมพิเศษ (แปลก ศิลปกรรม พิเศษ) เป็นกรรมาธิการจังหวัด เลือกที่ดินริมถนนปละท่าตรงข้ามวัดสระเกษ สร้างอาคารเรียนตึก 2 ชั้น ราคา 43,700 บาท เสร็จเรียบร้อยแล้ว ย้ายนักเรียนออกจากโรงเรียนเดิมมาเรียนที่ใหม่ ทำพิธีเปิดอาคารเรียน เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2484 ในสมัย ม.ล.ประชุมพร ไกรฤกษ์ เป็นอาจารย์ใหญ่

          อาคารเรียนหลังแรกของโรงเรียนนี้ได้ถูกรื้อถอนไป เมื่อ พ.ศ. 2522 เพราะสภาพชำรุดและทรุดโทรมมาก ได้เป็นอาคารเรียนของศิษย์ ว.ฉ. อยู่ร่วม 38 ปี และได้รับเงินงบประมาณ ปี พ.ศ. 2533 จำนวน6,360,000 บาท สร้างอาคารเรียน 4 ชั้นขึ้นแทน ในสมัยอาจารย์อาภรณ์ สาครินทร์ เป็นผู้อำนวยการ

         โรง เรียนวรนารีเฉลิม ได้รับคัดเลือกเป็นโรงเรียนดีเด่น รับรางวัลพระราชทานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยทรงมอบหมายสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี เป็นผู้ราชทานเมื่อวันที่ 30กรกฎาคม 2529

          วันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2529 ฯพณฯพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรีมาตรวจราชการจังหวัดหวัดสงขลา ได้มอบเงินสด 1 แสนบาท เพื่อก่อตั้งมูลนิธิ "ขยัน ติณสูลานนท์" โรงเรียนวรนารีเฉลิม มีผู้บริจาคสมทบได้ก่อตั้งมูลนิธิ รวมทั้งสิ้น 306,000 บาท

          ในวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2529 สมเด็จ พระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา ได้ทรงพระกรุณาฯรับโรงเรียนวรนารีเฉลิมไว้ในอุปถัมภ์ ยังความชื่นชมยินดีให้แก่ชาววรนารีเฉลิม หาที่เปรียบมิได้

          สิ่ง เหล่านี้เป็นความภาคภูมิใจของชาววรนารีเฉลิมเป็นอย่างยิ่ง คณาจารย์วรนารีเฉลิมทุกคนได้ตั้งปณิธาน ที่จะดำเนินทุกอย่างท่ดีที่สุด ทั้งในด้านการเรียนการสอน การอบรมจริยธรรมแก่นักเรียน การให้บริการแก่ชุมชนเพื่อรักษาเกียรติยศอันสูงสุดไว้คงอยู่คู่กับชื่อพระ ราชทาน "วรนารีเฉลิม" ตลอดไป

          ต่อไปนี้เป็นการคัดเอาเรื่องการเปิดโรงเรียนสตรีประจำจังหวัดสงขลา จากวิทยาจารย์เล่มที่ 22 ตอนที่ 11 ลงวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2465 ซึ่งเป็นข้อความในคำกราบบังคมทูลของสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอฯและพระราชดำรัส ตอบ จะเป็นประวัติตอนหนึ่งของโรงเรียนอย่างดียิ่ง

          วันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2464 เจ้า พนักงานได้ตกแต่งคฤหสถานและพลับพลายก ในบริเวณโรงเรียนด้วยธงไตรรงค์ ประกอบด้วยดอกไม้สด จัดห้องมุขเป็นห้องพิธีตั้งเครื่องบูชาและอานิสงส์พร้อมสรรพ

          วันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2464 เวลา 5 นาฬิกาหลังเที่ยง สมเด็จพระมาตุจฉาเจ้า พระบรมราชเทวี เสด็จจากตำหนักเขาน้อย ขึ้นสู่พลับพลายก กองลูกเสือมณฑลนครศรีธรรมราชที่ 1 มหา วชิราวุธ ซึ่งตั้งแถวเป็นกองเกียรติยศ กระทำวันทยาวุธ แตรเดี่ยวเป่าเพลงถวายคำนับสองจบ ภรรยาข้าราชการและข้าราชการ พร้อมด้วยนักเรียนสตรีเฝ้าตามลำดับ พอเวลาสมควรนายพลโทสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนลพบุรีราเมศวร์ อุปราชมลฑลปักษใต้กราบบังคมทูลอันเชิญสมเด็จพระมาตุจฉาเจ้า บรมราชเทวี ทรงเป็นประธานในการฉลองโรงเรียน มีพระโนมคุณมุนีเป็นประธานเจริญพุทธมณฑล จบแล้วเสด็จลาจากโรงเรียน ทรงปลูกต้นพิกุลที่สนามหน้าโรงเรียนเป็นฤกษ์ แล้วสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอนั้นทรงปลูกต่อรวม 7 ต้น เสร็จแล้วเสด็จกลับ

         ในคืนนั้น สมเด็จพระน้องยาเธอพระองค์นั้น โปรดให้มีการมหรสพ คือ มโนราห์โรงหนึ่ง หนังตะลุงโรงหนึ่ง เป็นการเสร็จ 


****ถ้านับตั้งแต่ต้น โรงเรียนนี้มีอายุ 106 ปี***




                                                                ประวัติโดย ย่อ 
                     ของ องค์ประทานนามโรงเรียน






สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า พระนามเดิม พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าหญิงสว่างวัฒนา (10 กันยายน พ.ศ. 2405 - 17 ธันวาคม พ.ศ. 2498) เป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชสมภพแต่เจ้าจอมมารดาเปี่ยม (ภายหลังเป็นสมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา พระอัยยิกาเจ้าในรัชกาลที่ 6) เมื่อวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2405 เป็นพระเจ้าลูกเธอชั้นเล็ก ลำดับที่ 60 ในจำนวนทั้งหมด 82 พระองค์ โดยรับราชการสนองพระเดชพระคุณเป็นพระภรรยาเจ้าในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระองค์ทรงเป็นพระราชชนนี (แม่) ของสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ ซึ่งเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร พระองค์แรกของไทย พระมาตุจฉาเจ้า (ป้า) ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระอัยยิกาเจ้า (ย่า) ในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลฯ และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ[1]
นอกจากนี้ พระองค์ทรงดำรงตำแหน่งองค์สภาชนนีสภาอุณาโลมแดง อันเป็นชื่อของสภากาชาดไทยเมื่อครั้งแรกตั้งในต้นรัชกาลที่ 5 เป็นพระองค์แรกและพระองค์เดียว และองค์สภานายิกา สภากาชาดไทย พระองค์ที่ 2 และทรงสร้างสถานพยาบาลขึ้น ปัจจุบัน คือ โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของสภากาชาดไทย
ในวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 ที่ประชุมใหญ่องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ได้ประกาศยกย่องสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวีฯ เป็นบุคคลสำคัญของโลก เนื่องในโอกาสวันครบรอบ 150 ปีชาตกาล ในวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2555 ในฐานะที่ทรงมีผลงานดีเด่นด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์สุขภาพและการอนุรักษ์พัฒนาด้านวัฒนธรรม พร้อมกับบุคคลและเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ของโลกอีก 97 รายการ[2





                                                              ประวัติโดย ย่อ 
                     ของ องค์อุปถัมภ์โรงเรียน






                 สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงเป็นพระธิดาพระองค์แรกใน สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก และ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ประสูติเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๖๖ ณ สถานพยาบาล กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ พระนามในพระสูติบัตรเมื่อแรกประสูติ คือ เมย์  ตามเดือนที่ประสูติ  สมเด็จฯ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ทรงมีพระอนุชา ๒ พระองค์ คือ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร์ และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

พระภัทรมหาราช  พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า หม่อมเจ้ากัลยาณิวัฒนา ต่อมาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๐ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสถาปนาเป็นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากัลยาณิวัฒนา และ ในพ.ศ. ๒๔๗๘ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ทรงเฉลิมพระเกียรติเป็น สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา  ครั้นเมื่อทรงเจริญพระชนมายุครบ ๖ รอบ  ใน พ.ศ. ๒๕๓๘ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯสถาปนาพระอิสริยศักดิ์ เป็นเจ้าฟ้าต่างกรมฝ่ายในตามธรรมเนียมราชประเพณีเป็นพระองค์แรกในรัชกาลทรงพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
หลังจากที่ประสูติได้ไม่นานนัก สมเด็จพระบรมราชชนกได้ทรงย้ายจากกรุงลอนดอนไปประทับอยู่ที่เมืองเซาท์บอน ทางฝั่งตะวันออก และหลังจากนั้นไปประทับที่เมืองบอสคัม ทางชายฝั่งทะเลด้านใต้ของประเทศอังกฤษ สมเด็จฯ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ได้ประทับ ณ ประเทศอังกฤษ จนถึงเดือน ต.ค. พ.ศ. ๒๔๖๖ ได้ตามเสด็จสมเด็จพระบรมราชชนก และสมเด็จพระบรมราชชนนี เสด็จกลับประเทศไทย
 

เมื่อเสด็จถึงประเทศไทย สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ได้พระราชทานพระตำหนักใหญ่ของวังสระปทุมเป็นที่ประทับ พระพี่เลี้ยงเนื่อง จินตดุล ซึ่งเป็นพระสหายสนิทของสมเด็จพระบรมราชชนนี ระหว่างที่ทรงศึกษาวิชาพยาบาลที่โรงพยาบาลศิริราช เป็นผู้ถวายการอภิบาล
ต่อมาพ.ศ. ๒๔๖๘ สมเด็จฯ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ได้ตามเสด็จ สมเด็จพระบรมราชชนกและสมเด็จพระบรมราชชนนีไปประเทศเยอรมนีและประเทศฝรั่งเศส

เมื่อแรกประสูติ ดำรงพระอิสริยยศเป็นหม่อมเจ้าหญิงกัลยาณิวัฒนา มหิดล (พระนามพระราชทานโดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว) สถาปนาเป็นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากัลยาณิวัฒนา โดยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว สถาปนาเป็นสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา โดยคณะผู้สำเร็จราชการในพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล
การศึกษา
ใน พ.ศ. ๒๔๖๙ สมเด็จพระบรมราชชนก เสด็จกลับประเทศไทย เพื่อทรงร่วมในพระราชพิธีถวายพระเพลิง พระบรมศพพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ระหว่างนั้น สมเด็จพระบรมราชชนนี ได้ทรงนำพระธิดาและพระโอรสพระองค์ แรกไปประทับ ณ เมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และทรงฝากให้อยู่ในสถานรับเลี้ยงเด็กโซเลย์ (Champ Soleil) หลายเดือน  สมเด็จฯ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ จึงทรงเริ่มรับสั่งภาษาฝรั่งเศส

ในปลาย พ.ศ. ๒๔๖๙ สมเด็จพระบรมราชชนกได้ทรงนำครอบครัวไปประทับที่เมืองบอสตัน (Boston) ประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อทรงศึกษาวิชาแพทยศาสตร์ สมเด็จฯ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงเริ่มศึกษาในระดับอนุบาลที่โรงเรียนพาร์ค (Park School)  ใน พ.ศ. ๒๔๗๑
เมื่อสมเด็จพระบรมราชชนกทรงสำเร็จการศึกษาวิชาแพทยศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาด (Harvard) จึงได้ทรงนำครอบครัวเสด็จกลับประเทศไทย และประทับ ณ พระตำหนักใหญ่ วังสระปทุม สมเด็จฯ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงเข้าศึกษาในระดับประถมศึกษาที่โรงเรียนราชินี และทรงศึกษาอยู่จนถึง พ.ศ. ๒๔๗๖  ภายหลังที่สมเด็จพระบรมราชชนกเสด็จทิวงคตใน พ.ศ. ๒๔๗๒  สมเด็จฯ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ประทับอยู่ที่กรุงเทพฯ ต่อไปอีกระยะหนึ่ง จนถึง พ.ศ. ๒๔๗๖


สมเด็จพระบรมราชชนนีทรงได้รับพระบรมราชานุญาตให้นำพระโอรส-พระธิดาทั้ง ๓ พระองค์ไปประทับ ณ เมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ สมเด็จฯ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ได้เข้าศึกษาในโซเลย์อีกครั้งหนึ่ง เป็นเวลา ๒ เดือน แล้วจึงเข้าศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษาชื่อเมียร์มองต์ (Miremont) การศึกษาที่เมียร์มองต์นั้นครูมีการอ่านเรื่องสั้น ๆ ให้ฟัง นักเรียนจะต้องเขียนเรื่องที่ได้ฟังส่งให้ครูตรวจ ในระยะแรกทรงเขียนได้เพียง ๑ บรรทัด จากเรื่องยาวประมาณครึ่งหน้ากระดาษที่ครูอ่าน ครั้งหนึ่งครูให้เขียนประโยคเกี่ยวกับ TAON (ตัวเหลือบ) ทรงเข้าพระทัยคิดว่าเป็น PAON (นกยูง) เพราะเสียงคล้ายกัน จึงทรงเขียนว่า “TAON เป็นนกที่สวยงาม” แต่อีกต่อมาประมาณ ๒ ปี ก็ทรงเขียนร่วมกับนักเรียนชาวสวิตได้อย่างดี จนจบชั้นประถมศึกษา 

พ.ศ. ๒๔๗๗ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงประกาศสละราชสมบัติ   และรัฐบาลได้กราบบังคมทูลเชิญ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดลขึ้นครองราชย์สมบัติ หลังจากนั้นสมเด็จพระบรมราชชนนีทรงนำพระโอรส-พระธิดา ไปประทับที่บ้านซึ่งพระราชทานนามว่า วิลล่าวัฒนา (Villa Vadhana) เมืองปุยยี ใกล้กับโลซาน
พ.ศ. ๒๔๗๘  สมเด็จฯ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงเข้าศึกษาระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนสตรี ชื่อ ?cole Sup?rieure de Jeunes Filles de la Ville de Lausanne ชั้นมัธยมศึกษาในประเทศสวิตเซอร์แลนด์นับจาก ชั้น ๖ ๕ ๔ ๓ ๒ ๑ ทรงสามารถสอบเข้าชั้น ๕ ในระดับมัธยมศึกษาได้ ทรงเรียนภาษาเยอรมันและภาษาละตินด้วย  พ.ศ. ๒๔๘๑ ทรงย้ายไปศึกษาต่อที่เจนีวา ในลักษณะของนักเรียนประจำที่ International School of Geneva ทรงสอบผ่านชั้นสูงสุดของระดับมัธยมศึกษาได้เยี่ยมเป็นที่ ๑ ของโรงเรียน และที่ ๓ ของประเทศสวิตเซอร์แลนด์   
พ.ศ. ๒๔๘๕ ได้เสด็จเข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยโลซานน์ในคณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาเคมี ทรงสำเร็จการศึกษาปริญญาตรี และได้รับ Dipl?me de Chimiste A เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๑  ในระหว่างที่ทรงศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยโลซานน์ ได้ทรงเข้าศึกษาหลักสูตรของสังคมศาสตร์ - ครุศาสตร์ Diplime de Sciences Sociales Podagogiques อันประกอบด้วยวิชาต่าง ๆ ในสาขาวิชาการศึกษา วรรณคดี ปรัชญา และจิตวิทยา แม้เมื่อทรงสำเร็จการศึกษาปริญญาตรีสาขาวิชาเคมีแล้ว ก็ยังทรงศึกษาวิชาวรรณคดีและปรัชญาต่อไปอีกด้วยความสนพระหฤทัย



                                                                               ข้อมูลทั่วไป


                                                               






ตราประจำโรงเรียน : กรอบพักตร์ (ที่ภาคภูมิใจของเรา เพราะเป็นส่วนหนึ่งของตราประจำพระองค์ในพระ

สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า)










สีประจำโรงเรียน : กรมท่า-ขาว








ต้นไม้ประจำโรงเรียน : ต้นพิกุล (Bollet Wood)






ปรัชญาโรงเรียน :
 นิมิตตํ สาธุปูปานํ กตญญูกตเวทิตา 
 "ความกตัญญูเป็นเครื่องหมายของคนดี"

คติพจน์โรงเรียน :
 จรรยางาม ความรู้ดี มีวินัย ใฝ่คุณธรรม 

























































ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น